ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรคลัมปี สกิน ในโค-กระบือ
บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ว่าในประเทศไทยมีการพบโรคลัมปี สกิน ในโค-กระบือ โรคนี้เป็นอย่างไร ติดตามกับ คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์.
🎯 ตรวจสอบกับ รศ.น.สพ.ดร. กิตติศักดิ์ อัจฉริยะขจร
อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย ณัฐวัฒน์ จิตรมั่น
-----------------------------------------------------.
📌 สรุป 📌
Q : ที่เขาแชร์ว่ามีการพบโรคลัมปี สกิน ในประเทศไทยนี่จริงไหม ?
A : เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทางกรมปศุสัตว์ก็ประกาศว่า
เราได้พบโรคอุบัติใหม่อันนี้ที่จังหวัดร้อยเอ็ด
ที่รายงานเป็นทางการก็เมื่อประมาณปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
Q : โรคลัมปี สกิน นี่คืออะไร ?
A : เป็นโรคสัตว์ สาเหตุของมันคือเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเป็นตระกูล Pox virus
โรคนี้เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่อยู่ในกลุ่มสัตว์เคี้ยวเอื้องโค-กระบือ และมีสัตว์ป่าบางชนิด
ต้นกำเนิดของมันจริง ๆ โรคนี้มันอยู่ในทวีปแอฟริกาหลายประเทศอยู่หลาย 10 ปีแล้ว
แล้วมันก็ค่อยระบาดขึ้นมาทางประเทศในตะวันออกกลางแล้วก็ยุโรปตอนใต้ แล้วก็ลุกลามไปที่รัสเซีย แล้วก็จีน
แล้วเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาโรคมันก็มารุมเร้าแถว ๆ อินเดีย บังกลาเทศ ภูฏาน แล้วก็เข้าไปที่จีน
ล่าสุดก็ก่อนหน้าเราก็จะมีเวียดนาม
.
Q : ลักษณะอาการของโรคลัมปี สกิน เป็นยังไง ?
A : เป็นไวรัสที่ติดเข้าไปทางผิวหนัง มีแมลงดูดเลือด
ซึ่งในบ้านเราก็มีแมลงพวกนั้นอยู่แล้วเมื่อเข้าไปแล้วมันก็จะทำให้สัตว์มีไข้ในระยะแรก
ระยะฟักตัวก็อาจจะเร็วสุดก็ 2 - 4 วัน แล้วก็ไปถึง 2 สัปดาห์หลังจากนั้น จะเริ่มมีตุ่มเป็นก้อนนูน ๆ กลม ๆ ที่ผิวหนัง
ก้อนกลม ๆ เป็นตุ่มนี้ ก็จะเริ่มแข็งตัว แล้วก็แตกหรือมีรอยหนาตัวขึ้น แล้วก็หลุดออกมาเป็นแผลหลุม
.
คราวนี้ลักษณะที่มันเกิดขึ้นกับปริมาณรอยโรคที่มันเกิดจะรุนแรงไม่รุนแรง
แล้วก็อาจจะมีภาวะแทรกซ้อน การติดเชื้อแบคทีเรียก็จะใช้เวลาประมาณตั้งแต่ติดเชื้อจนถึงอาการของโรคสงบ
หายเองด้วยการช่วยเหลือหรือตัวมันเองก็ประมาณ 1 เดือนแผลก็จะทุเลาหายไปก็เป็นรอยแผลเป็น
บางตัวก็ไม่มีรอยแผลเป็น
.
Q : โรคนี้สามารถติดต่อสู่คนได้ไหม ?
A : มีรายงานในประเทศอียิปต์ที่มีการเกิดโรคในคนแล้วเขาสามารถแยกเชื้อไวรัสตัวนี้ได้จากคนที่ป่วย
แต่การป่วยนั้นผู้ป่วยนั้นก็มีสภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องก็มีการติดเชื้อไวรัสอื่นร่วมด้วยเช่น งูสวัด
มันก็เป็นกรณีพิเศษ ก็จะมีแค่หลักฐานเดียวที่เราสามารถหาได้
.
Q : เขาแชร์กันว่าเมื่อมีโรคลัมปี สกิน ระบาด
ผู้บริโภคต้องระมัดระวังในการรับประทานเนื้อวัวมากขึ้น จริงไหม ?
A : ในกระบวนการโรงฆ่าสัตว์ที่มาตรฐานสัตว์ที่เป็นโรคมันจะไม่เข้ากระบวนการฆ่า
หรือถ้ามันหลุดรอดเข้าไปก็จะมีเจ้าหน้าที่ตรวจซากตรวจคุณภาพเนื้อ ก็จะโดนทำลายทิ้ง
เพราะฉะนั้น ถ้าพูดถึงมาตรฐานเนื้อสัตว์ที่เอามาบริโภคในบ้านเราถ้าผ่านโรงฆ่าที่ได้รับมาตรฐาน
ผมก็เชื่อว่ามีความปลอดภัยระดับหนึ่งแต่อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคเวลานำเนื้อสัตว์ต่าง ๆ มาบริโภค
การรักษาความสะอาดระหว่างปรุงอาหารและที่สำคัญที่สุดคือการปรุงเนื้อสัตว์ให้สุก
.
Q : มีวิธีการรักษาโรคลัมปี สกิน ไหม ?
A : การรักษามันไม่มีวิธีจำเพาะ ส่วนใหญ่ที่เรารักษาการติดเชื้อไวรัสเรารักษาตามอาการ
อย่างเช่นโรคนี้อาการอยู่ที่ผิวหนังในสัตว์ทั่ว ๆ ไป ก็คือการทำแผล ระงับการเจ็บปวด
ให้เขาสามารถกินอาหารได้ ให้วิตามิน แร่ธาตุเสริมให้เขาสามารถลุกขึ้นมากินอาหารปกติได้
.
ส่วนแผลก็ค่อย ๆ ทุเลาหายไปในประมาณ 4-5 สัปดาห์ ก็จะหายส่วนการรักษาทางยาปฏิชีวนะ
ถ้าจำเป็นกรณีที่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน เช่น แผลเป็นการติดเชื้อ เขาก็รักษาให้ยาปฏิชีวนะ
.
Q : เราจะสามารถป้องกันโรคลัมปี สกิน ได้ยังไง ?
A : สิ่งที่เราต้องทำแรก ๆ ก็คือว่าการควบคุมการเคลื่อนย้าย
สิ่งที่เปราะบางที่สุดคือการควบคุมการเคลื่อนย้ายผ่านช่องทางชายแดน
.
อันที่ 2 การควบคุมการเคลื่อนย้ายไปสู่ตลาดนัดโค-กระบือ
ซึ่งทางกรมปศุสัตว์ก็ได้มีมาตรการเข้มงวดมากขึ้น
ส่วนอันที่ 3 ที่เกษตรกรหรือว่าเจ้าหน้าที่สามารถช่วยได้คือ
การเข้าไปกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์แมลง ยุง แหล่งน้ำ
กองมูลสัตว์ แหล่งอับชื้นในคอก
ที่สามารถเป็นแหล่งเพาะเชื้อของไวรัสตัวนี้ในสิ่งแวดล้อมได้
.
แล้วสุดท้ายก็คือการดูแลสัตว์ป่วยหรือต้องจำเป็นต้องทำลาย
ก็ต้องทำลายสัตว์ป่วยให้ถูกวิธี ถ้าจำเป็นแล้วมีการระบาดรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ
มาตรการการใช้วัคซีนก็อาจจะต้องเขามาซึ่งตอนนี้อยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาของกรมปศุสัตว์
คาดว่าอาจจะจำเป็นต้องใช้วัคซีน ในส่วนที่มีการระบาดรุนแรงหรือเป็นวงกว้าง
-
Q : ความร่วมมือที่เกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือสามารถทำได้ ?
A : ความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นได้ คือการแจ้งโรคของผู้เลี้ยงสัตว์
ตอนนี้กรมปศุสัตว์ก็เปิดสายด่วนแล้วก็มีการรับแจ้งในพื้นที่ของระดับอำเภอ
ตอนนี้ในทางปฎิบัติผมว่าหลายฝ่ายของกรมปศุสัตว์ก็พยายามที่จะรับแจ้งเพื่อประมวลเป็นภาพการระบาด
อันนี้เพื่อจะวางการควบคุมในพื้นที่ให้ได้
.
อันที่ 2 คำแนะนำรักษาสัตว์ที่ถูกต้องคงต้องรับข้อมูลวิชาการที่ถูกต้อง
บางอย่างที่แนะนำในอินเทอร์เน็ตต้องมีการตรวจสอบว่าข้อมูลเหล่านั้นมันถูกต้อง
.
#ชัวร์ก่อนแชร์ #sureandshare
-----------------------------------------------------
.
🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ "ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์" 🎯
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40sureandshare
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: https://www.xn--12crb3d5bdx4c6a7myc2bh.com/
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
หลังจากที่กรมปศุสัตว์ได้รับรายงานพบโคเนื้อแสดงอาการสงสัยเป็น “โรคลัมปี สกิน” ในเกษตรกรรายย่อยที่อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด นั้น ล่าสุด ทางกรมปศุสัตว์ ได้เร่งทำการหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่อง “มาตรการควบคุมป้องกันโรคลัมปี สกิน” เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่พบในประเทศไทย พร้อมสอบสวนโรคเบื้องต้น ซึ่งสาเหตุการเกิดโรคเกิดจากการนำเข้าโคเนื้อมาเลี้ยงใหม่ในพื้นที่ โดยเป็นโคเนื้อที่อาจมีการลักลอบนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านในขณะนี้ กรมปศุสัตว์ได้เร่งดำเนินการควบคุมโรคเพื่อลดความสูญเสียให้กับเกษตรกร และเฝ้าระวังโรคในจังหวัดข้างเคียง
สำหรับ “โรคลัมปี สกิน” มีสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส Lumpy skin disease virusเป็นโรคที่เกิดเฉพาะในโค กระบือ ไม่เป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้ก่อโรคตามอวัยวะที่มีเซลล์เยื่อบุมีลักษณะอาการที่สามารถสังเกตได้ คือ พบตุ่มเนื้อบนผิวหนังและเยื่อเมือกทั่วร่างกาย ซึ่งต่อมาจะตกสะเก็ดและเป็นแผลหลุม สัตว์อาจมีไข้และหายใจลำบากร่วมด้วย โดยมีพาหะนำโรค คือแมลงดูดเลือด เช่น ยุง แมลงวันดูดเลือด
ทั้งนี้ วิธีการป้องกันหรือลดโอกาสติดเชื้อได้ด้วยการกำจัดแมลงโดยใช้สารเคมีกำจัดแมลงแบบฉีด แบบราดหลัง หรือแบบฉีดพ่นสำหรับสัตว์ทุกตัวในฝูง หากเกษตรกรพบโค กระบือป่วยและแสดงอาการผิดปกติ ให้รีบดำเนินการแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่ทันที เพื่อดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าวต่อไป
เครดิต https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/474987
#โรคระบาดสัตว์ #วัว #ลัมปีสกิน #ไวรัส #ควบคุมโรค #ปศุสัตว์ #แมลงดูดเลือด #ยุง #เกษตรกร #กระบือ #สัตว์ #โค #ประเทศไทย #ประเทศเพื่อนบ้าน #ป้องกันโรค #วิธีรักษา #ฟาร์มวัว #เฝ้าระวัง