มี 151 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์
คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ(กกร.) ว่าด้วยกรมการค้าภายใน ได้ออกประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2554 กำหนดมาตรการควบคุมการขนย้ายสุกรมีชีวิตโดยห้ามบุคคลใดขนย้ายสุกรมีชีวิตเข้าหรือออกจากจังหวัดที่ห้ามขนย้าย เพื่อให้ปริมาณสุกรมีเพียงพอต่อการบริโภค และผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมด้านราคา ดังนี้
1. สินค้าที่ควบคุม ได้แก่ สุกรมีชีวิต
2. มาตรการที่ควบคุม การขนย้ายสุกรมีชีวิตที่มีน้ำหนักตั้งแต่แปดสิบกิโลกรัมต่อหนึ่งตัวขึ้นไป และมีจำนวนการขนย้ายครั้งละตั้งแต่สิบตัวขึ้นไปต้องขออนุญาต
3. วิธีการควบคุมและพื้นที่ ห้ามขนย้ายเข้ามาหรือออกจากพื้นที่อำเภอของจังหวัดที่มีชายแดนติดกลับประเทศเพื่อนบ้าน รวม 100 อำเภอของ 24 จังหวัด เว้นแต่จะได้รับอนุญาต (จังหวัดจันทบุรี ได้แก่ อำเภอโป่งน้ำร้อน และอำเภอสอยดาว)
4. การขนย้าย
4.1 ก่อนการขนย้ายสุกรมีชีวิตทุกครั้งจะต้องดำเนินการยื่นคำขอรับหนังสืออนุญาตการขนย้ายสุกรมีชีวิต และเมื่อได้รับหนังสืออนุญาตการขนย้ายแล้วจึงจะทำการขนย้ายได้ และต้องดำเนินการขนย้ายสุกรมีชีวิตให้ตรงกับ ระยะเวลา จำนวนสุกรมีชีวิต สถานที่ปลายทาง รวมทั้งรายละเอียดต่างๆ ที่ระบุไว้ในหนังสืออนุญาต
4.2 การขนย้ายทุกครั้งต้องมีหนังสืออนุญาตการขนย้ายกำกับติดไปกับยานพาหนะที่ขนย้ายด้วยทุกครั้ง
4.3 ห้ามทำการแก้ไขตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมายใดๆ ในหนังสือนุญาตทั้งสิ้น
5. สถานที่ยื่นขออนุญาต
5.1 กรมการค้าภายใน
5.2 สำนักงานการค้าภายในจังหวัดแห่งท้องที่ กรณีขนย้ายเข้ามาหรือออกนอกท้องที่ หรือเป็นจังหวัดต้นทางที่ทำการขนย้าย
6. กรณีฝ่าฝืนขนย้ายสุกรมีชีวิตโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หน้าฝนนี้กรมปศุสัตว์ขอเตือนเกษตรกรให้ดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงในช่วงฤดูฝนเป็นพิเศษเนื่องจากช่วงนี้จะมีฝนกระหน่ำลงมาในแต่ละวัน อากาศเปลี่ยนแปลงจากร้อนเป็นร้อนชื้น ทำให้สัตว์ต่างๆ อาจเกิดความเครียดได้
การดูแลสัตว์เลี้ยงเราจะต้องคอยเอาใจใส่เขาตลอดเวลาทุกฤดูกาล ทว่าหน้าฝนนี้กรมปศุสัตว์ขอเตือนเกษตรกรให้ดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงในช่วงฤดูฝนเป็นพิเศษเนื่องจากช่วงนี้จะมีฝนกระหน่ำลงมาในแต่ละวัน อากาศเปลี่ยนแปลงจากร้อนเป็นร้อนชื้น ทำให้สัตว์ต่างๆ อาจเกิดความเครียดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ของเกษตรกรที่เลี้ยงแบบปล่อยให้อยู่กับธรรมชาติที่ไม่มีโรงเรือนหรือที่กันแดดกันฝน ส่งผลให้สุขภาพสัตว์อ่อนแอ และเจ็บป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะโรคหวัดหรือโรคปอดบวม นอกจากนี้หากฝนตกหนักมีน้ำท่วมขังจะทำให้พืชอาหารสัตว์ตาย ส่งผลให้สัตว์ขาดแคลนอาหาร ผอม อ่อนแอยิ่งขึ้น ดังนั้นหากพบเห็นสัตว์ป่วยให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์เร่งดำเนินการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
สิ่งที่เกษตรกรควรเอาใจใส่สำหรับการเลี้ยงสัตว์ในในช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงนี้ คือ การจัดการพื้นที่การเลี้ยงสัตว์ ให้โรงเรือน มีที่กำบังลมและฝน รวมทั้งมีวัสดุปูรอง จัดหาอาหารสัตว์ตามฤดูกาลให้เพียงพอ ควบคุมการเข้าออกของคน สิ่งของ ไม่ให้มีการนำเชื้อโรคเข้าสู่สัตว์เลี้ยงได้ มีการพ่นทำลายเชื้ออย่างถูกวิธี และหมั่นสังเกตดูอาการของสัตว์ว่ามีอาการป่วยหรือไม่ กรณีพบสัตว์ป่วยให้แยกสัตว์ออกจากฝูง และรีบแจ้งปศุสัตว์ตำบล หรือปศุสัตว์อำเภอเพื่อดำเนินการช่วยเหลือ ลดความเสียหาย โดยท่านสามารถแจ้งขอความช่วยเหลือได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด และ call center กรมปศุสัตว์ หมายเลขโทรศัพท์ 08-5660-9906 นอกจากนี้ ช่วงที่อากาศมีการเปลี่ยนแปลง ควรระงับการนำสัตว์เข้าใหม่ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรเลือกพันธุ์สัตว์ จากแหล่งที่มีความปลอดภัย สัตว์มีที่มาถูกต้อง มีประวัติสัตว์ชัดเจน โดยเฉพาะ ในโค กระบือ แพะ แกะ กรมปศุสัตว์ได้มีการดำเนินการจัดทำทะเบียนสัตว์แห่งชาติ ซึ่งมีฐานข้อมูล การทดสอบโรค การทำวัคซีน ดังนั้นการคัดเลือกสัตว์เข้ามาเลี้ยงใหม่ ควรเลือกสัตว์ที่เครื่องหมายประจำตัวสัตว์ และบัตรประจำตัวสัตว์ เพื่อลดความเสี่ยงในการรับสัตว์ป่วยเข้าในฟาร์ม และแยกสัตว์เข้าใหม่ออกจากฝูงเดิม
โดยทั่วไปอาการโค กระบือ แพะ แกะ และสุกรป่วยจะแสดงอาการที่เกษตรกรสามารถสังเกตเห็นได้คือ ซึม เบื่ออาหาร หากเป็นโค-กระบือ มีขี้ตา หายใจลำบาก มีขี้มูก ไอหรือจาม หรือท้องเสีย นอกจากนี้อาจมีการแท้งลูกได้ ในเบื้อต้นสัตว์เคี้ยวเอื้องมักจะไม่มีการเคี้ยวเอื้อง จมูกเปียกแฉะหรือแห้งผิดปกติ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม หนังไม่สั่นไล่แมลง หากเป็นสัตว์ปีก อาการที่พบได้คือ คอตก หายใจเสียงดัง
ในช่วงฝนตก อากาศร้อนชื้น สัตว์ส่วนใหญ่มักจะเป็นโรคหวัด โรคปอดบวม และโรคท้องเสีย หรือพบท้องอืดในโค กระบือ แพะ แกะ ได้ เนื่องจากความเครียดจากอากาศที่แปรปรวน สัตว์จะอ่อนแอและหากสัตว์ไม่มีการทำวัคซีนจะไวต่อการติดเชื้อโรคระบาด ได้ง่าย ดังนั้นโค-กระบือ ต้องระวังคือโรคปากและเท้าเปื่อยและโรคคอบวม ส่วนสุกรต้องระวังโรคปากและเท้าเปื่อย และโรคพีอาร์อาร์เอส และสำหรับสัตว์ปีก โรคที่ต้องระวังนอกจากโรคไข้หวัดนกซึ่งไม่มีการทำวัคซีนแล้ว ก็คือ โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ โรคนิวคลาสเซิล โรคฝีดาษ ฯลฯ นอกจากนี้ภายหลังจากฝนตกติดต่อกันหลายๆ วัน ในพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมขังก็ให้ระวังโรคฉี่หนูหรือโรคเลปโตสไปโรซีส ซึ่งโรคนี้เป็นโรคสัตว์ติดคน ดังนั้น เกษตรกรต้องสวมรองเท้าบู้ททุกครั้งที่ต้องสัมผัสกับแหล่งน้ำ และต้องหมั่นสังเกตอาการของสัตว์ที่เลี้ยงถ้าพบมีอาการ มีไข้ ซึม ปัสสาวะสีแดงให้รีบแจ้งปศุสัตว์จังหวัดหรือ ปศุสัตว์อำเภอ ปศุสัตว์ตำบล หรืออาสาปศุสัตว์ในพื้นที่โดยด่วน เพื่อเข้าตรวจสอบ ป้องกัน และควบคุมโรคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด.
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""'
ข้อมูล : สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์
เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : น้องนุช สาสะกุล
credit : http://www.dld.go.th/